ส่วนประกอบภายในคอมฯ

มารู้จักส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์กันเถอะ



A. Processor-CPU + Heat sink
          Central processing unit (CPU) ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด และเป็นศูนย์กลาง การทำงานของ PC ตัว CPU นั้น ถือว่าเป็น Microprocessor ประเภทหนึ่ง ที่มีความสามารถ ในการจัดการคำสั่ง และการประมวลผลที่มีความซับซ้อน เป็นอย่างมาก ถ้าเราเปรียบ PC กับการทำงานของมนุษย์แล้ว เราจะเปรียบ CPU ได้เท่ากับเป็นสมองของมนุษย์เลยทีเดียว คุณคงจะคุ้นเคยกันดี เวลาเลือกซื้อ PC ที่มักจะต้องคำนึงถึง CPU กันก่อน ว่าจะเลือกใช้ Pentium 4, Celeron หรือ Athlon ซึ่งนี่ก็คือตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็น ถึงความสำคัญของ CPU ได้เป็นอย่างดี

B. Power Supply
          Power supply ถือเป็น หม้อแปลงไฟฟ้าของระบบ เนื่องจาก อุปกรณ์ทุกชิ้น ที่ติดตั้งอยู่ภายใน PC นั้น จะต้องได้รับ ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง มาจาก Power Supply ด้วยกันทั้งสิ้น ปัจจุบันจะเป็นส่วนที่ติดมากับเคส(case) ซึ่งจะมีให้เลือกหลาย ๆ แบบและหลายราคา ทั้งแบบที่เป็นเดสก์ทอป(Desktop) หรือจะเป็นแบบทาวเวอร์ (Tower) Power Supply ปัจจุบัน ควรซื้อที่ 230 วัตต์เป็นอย่างน้อย เพราะถ้ามีกำลังไฟมากจะทำให้ต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้มาก รุ่น ATX (ใหม่) ข้อควรระวังก็คือ Power Supply ราคาถูก มักจะมีตัวเลขบอกกำลังไฟสูงกว่าความจริง

C. Fan
          Fan พัดลมระบายความร้อนที่ติดมากับเคสจะไม่ค่อยมีมาให้ในทุกเครื่อง ส่วนใหญ่มักจะใช้พัดลมที่ติดมากับเพาเวอร์ซัพพลาย แต่ถ้าต้องการจะให้มีการระบายความร้อนได้ดีขึ้น อาจซื้อพัดลมนี้มาติดเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะแนะนำสำหรับเครื่องที่มีการโอเวอร์คล๊อกความเร็วของซีพียู ควรติดตั้งพัดลมระบายความร้อนตัวนี้ด้วย จะลดอาการเครื่องแฮงก์ลงได้มาก

D. Graphic Card
         Graphic Card ถือเป็นส่วนของการแสดงผล ซึ่งจะช่วยให้จอภาพของคุณ แสดงภาพต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ และก็เช่นเดียวกับ Sound Card นั่นคือ มันถือเป็น อุปกรณ์พื้นฐาน เพื่อรองรับระบบมัลติมีเดีย และก็มีผู้ผลิตหลายราย ที่นำเอาคุณสมบัติของ Graphic Card มาไว้ใน Chipset แต่มันก็ให้คุณภาพที่ไม่ดีนัก สำหรับ Graphic Card นี้ ก็ยังมีอีกหลายประเภท ตั้งแต่ การรองรับ คุณภาพในระดับ 2 มิติ ไปจนถึง การรองรับคุณสมบัติแบบ 3 มิติ ซึ่งเหมาะสำหรับ นักเล่นเกมส์ และผู้ใช้งาน ในระดับ Graphic Design มืออาชีพ

E. Sound Card
         Sound card PC ของคุณ อาจกลายเป็นใบ้ขึ้นมา หากขาด Sound Card เนื่องจากว่า มันเป็นตัวกลาง ในการควบคุม การทำงานที่เกี่ยวข้องกับเสียง ตั้งแต่ การบันทึกเสียง ไปจนถึงการเล่นไฟล์เสียงต่างๆ ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน เพื่อรองรับระบบมัลติมีเดียนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีการพัฒนา Chipset ที่รวมเอาความสามารถของ sound Card มาด้วย แต่มันก็ให้ประสิทธิภาพที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับ การใช้งาน Sound Card แบบแยกชิ้น

F. Fax-Modem
         Fax-Modem เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ที่สนใจเล่นอินเตอร์เน็ต ในเมนบอร์ดบางยี่ห้อและบางรุ่นจะมีอุปกรณ์ชนิดนี้อยู่บนบอร์ดด้วย โมเด็มที่ควรซื้อตอนนี้คือรุ่น 56 K ชนิดติดตั้งภายใน และชนิดติดตั้งภายนอก โมเด็มที่ดีเมื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต สัญญาณจะไม่หลุดง่าย

G. Expansion Slot
         Expansion Slot สล๊อตเพิ่มขยาย ภายในเมนบอร์ดนั้นจะ ทำหน้าที่สำหรับต่อกับการ์ดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะประกอบไปด้วย ระบบบัส และ Port ต่อเชื่อมที่หลากหลาย ซึ่งถูกติดตั้งขึ้นมา เพื่อรองรับ อุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ IDE Interface ที่ใช้สำหรับต่อเชื่อมกับ ฮาร์ดดิสก์ และ CD-ROM ต่อมาก็เป็น PCI Slot ที่มีไว้ สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์อย่าง การ์ดเสียง และการ์ดเน็ตเวิร์ค สุดท้ายนั่นคือ AGP Slot สำหรับการติดตั้งกราฟิกการ์ด ซึ่งถือเป็น Port ความเร็วสูงที่สุดตัวหนึ่ง ในบรรดา ที่เรากล่าวถึงมา

H. RAM
         Memory หรือหน่วยความจำ ซึ่งถือว่า เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูล ที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ส่วนใหญ่แล้ว เราจะคุ้นเคยกันดี กับ กับคำว่า RAM ที่เสมือนหนึ่ง เป็นตัวแทนของหน่วยความจำกันแล้ว การทำงานของมัน จะทำงานควบคู่ไปกับ CPU จึงจำเป็น ต้องมีความเร็ว ในการทำงาน และอัตราการส่งผ่านข้อมูลที่สูง ซึ่งหากคุณ ยังมองไม่เห็นภาพว่า Memory นั้น สำคัญอย่างไร เราก็อยากจะอธิบายว่า มันก็เปรียบเสมือนกับโต๊ะทำงานของคุณ หากคุณ ไม่มีโต๊ะทำงาน เอาไว้กองเอกสารต่างๆ คุณคงจะยุ่งยากไม่น้อย กับการจัดการ กับข้อมูลเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม ประเภทของหน่วยความจำ ก็มีอยู่หลากหลาย ไม่ใช่แค่เพียง RAM เท่านั้น นั่นคือ

• Random-access memory (RAM) ถือเป็น หน่วยความจำ ที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด และเป็นเสมือนหนึ่ง ตัวแทนของหน่วยความจำ ก็ว่าได้ การทำงานของ RAM นั้น จะเป็นเสมือนมือขวา ของ CPU โดยที่ข้อมูลแทบทั้งหมด จะต้องถูกส่งผ่านมายัง RAM เสียก่อน แล้วจึงค่อยส่งต่อไปให้ CPU อีกต่อหนึ่ง

          • Read-only memory (ROM) ถือเป็น หน่วยความจำถาวร ที่สามารถ เก็บข้อมูลเอาไว้ได้ภายใน แม้ว่าจะไม่มีประจุไฟฟ้า หล่อเลี้ยงอยู่ ( ต่างจาก RAM ที่เก็บข้อมูลได้ชั่วคราว เท่าที่มี ประจุไฟฟ้าอยู่เท่านั้น ) จุดประสงค์ ของ ROM นั่นคือ สำหรับ กักเก็บ ข้อมูลที่สำคัญๆ เอาไว้ อีกทั้ง ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถ ปรับเปลี่ยนได้ เพื่อป้องกัน ปัญหา การโดนไวรัสเล่นงาน หรือโดนผู้ไม่ประสงค์ดี จู่โจมเอาได้

          • Basic input/output system (BIOS) BIOS ถือเป็นส่วนสำคัญ ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อทำการ ควบคุม ค่าการทำงานต่างๆ ของระบบ และคำสั่งการสื่อสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ในระหว่าง บูธเครื่อง ซึ่ง BIOS นั้น ก็ถือเป็น ROM อีกชนิดหนึ่ง

          • Caching ถือเป็น หน่วยความจำ ที่ทำงาน ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งโดยตัวมันเอง ยังมีความสามารถ เหนือกว่า RAM ด้วยซ้ำ การทำงานของ Cache นั้น จะคอยประสานการทำงาน ระหว่าง RAM และ CPU อีกต่อหนึ่ง โดยทุกวันนี้ CPU รุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อม Cache ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อลดปัญหา คอขวด ที่อาจเกิดขึ้น จากการสื่อสาร ระหว่าง CPU และ RAM

I. CD-ROM Drive
         CD-ROM Drive จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทมัลติมีเดีย ทำหน้าที่อ่านข้อมูลต่าง ๆ ในแผ่นซีดี ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม เพลง ไฟล์ภาพ หรือภาพยนตร์ ตามปกติซีดีรอมจะทำหน้าที่อ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว แต่ในซีดีรอมบางรุ่น ยังสามารถ เขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ด้วยแต่มีราคาสูงกว่ามาก การเลือกซีดีรอมควรระวังในเรื่องของการอ่าน เพราะพบว่ามีเครื่องซีดีรอมบางรุ่นไม่สามารถอ่านแผ่นบางประเภทได้

J. Floppy Drive
         Floppy Drive เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูล ขนาดที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว และมีติดตั้งมากับคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว เนื่องจากมีความจำเป็นน้อยลง ทั้งนี้เพราะการใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ข้อมูลจากจากซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์ เราจะใช้ในกรณีที่ต้องการ Boot เครื่องยามฉุกเฉิน หรือบันทึกงานไปใช้ที่เครื่องอื่น

K. Hard Disk
         Hard Disk มันคือ คลังเก็บข้อมูลของระบบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะขาดฮาร์ดดิสก์ไปเสียไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถ จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ลงไปใน PC ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย โดยตัวมันแล้ว ถือว่าเป็น สื่อเก็บข้อมูลแบบถาวร ที่มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็ก การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น เปรียบเสมือน เป็นตู้ลิ้นชัก สำหรับเก็บเอกสารจำนวนมาก เพราะฉะนั้น หากเราเปรียบเทียบ กับการทำงานแบบปกติแล้ว เราจะเห็นได้ว่า เมื่อเรา จะเริ่มต้นทำงาน เราก็ต้อง หยิบเอกสารที่ต้องการ มาจากตู้ลิ้นชัก ( หรือ ฮาร์ดดิสก์ ) แล้วก็นำเอกสารเหล่านั้นมากางลงบนโต๊ะทำงาน ( เปรียบได้กับ RAM ) เพื่อเป็นพื้นที่ทำงานอีกทีหนึ่ง

L. Chipset
           Chipset เป็นส่วนที่เชื่อมโยงและควบคุมการทำงาน การส่งข้อมูล และยังมีส่วนช่วยในการประมวลผลของระบบ ตั้งแต่ CPU, หน่วยความจำ, IDE Drive หรือแม้แต่กราฟิกการ์ดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ตัว Chipset ดูเหมือนจะห่างตัวเราสักหน่อย เนื่องจากว่า เวลาเลือกซื้อนั้น เราไม่ได้ซื้อ Chipset แยกมาต่างหาก แต่มันจะถูกรวมมาอยู่ในเมนบอร์ด ตั้งแต่โรงงานผลิตเลย ยี่ห้อ Chipset บนเมนบอร์ดจะมีความสามารถที่แตกต่างกันและเหมาะกับซีพียูต่างชนิดกัน นอกเหนือจาก Chipset ของ Intel ก็ยังมีของ VIA, ALi, SiS ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีทั้งที่สนับสนุนการส่งถ่ายข้อมูลที่ Ultra AMD/33 และ AMD/66
M. Main Board
          Main Board ถือเป็น อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ที่สุด ที่อยู่ภายในเครื่อง PC โดยลักษณะของมันแล้ว จะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วย วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ตัวเมนบอร์ดเอง ยังเต็มไปด้วย Slot มากมาย เพื่อการติดตั้ง ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, Graphic Card, Sound Card รวมไปถึง อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ อย่างฮาร์ดดิสก์, CD ROM ก็ต้อง ทำการเชื่อมข้อมูล เข้ามายัง เมนบอร์ดผ่าน IDE Slot เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากเราเปรียบเทียบ กับตัว Case เป็นเสมือนบ้าน แล้วล่ะก็ ตัวเมนบอร์ดเอง ก็คงเสมือนกับเป็นพื้นบ้าน สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ นั่นเอง